เศรษฐกิจไทยชะลอตัว ปัจจัยความเชื่อมั่นผู้บริโภคลด
รวมถึงอาจทำให้ปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกคลี่คลายช้าลง ภาวะเงินเฟ้อสูงในประเทศที่อาจยาวนานกว่าคาดจากราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่อาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง และประเด็นความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในช่วงต้นปี 2023. แม้ตอนนี้ความขัดแย้งยังคงอยู่ในพื้นที่จำกัด ในพื้นที่ของฉนวนกาซา และประเทศอิสราเอล แต่หากในอนาคตมีการแบ่งขั้วพันธมิตร และประเทศมหาอำนาจลงมาสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างชัดเจน กระทั่งความขัดแย้งลุกลามจนเกิดความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง เมื่อนั้นความไม่มั่นคงจะเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างแน่นอน เนื่องจากตะวันออกกลาง เป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของโลก ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และปุ๋ย การชะงักของห่วงโซ่อุปทานอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพรวมไปทั่วโลก และไทยเองก็ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย… หากพูดถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลก ‘ไทย’ ในฐานะส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ก็ย่อมจะได้รับผลกระทบแน่นอน ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ จึงได้ติดต่อไปถึง ‘นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์’ ผู้อํานวยการสํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า